วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วันนี้เราเก็บภาพปลูกป่าลดโลกร้อนมาให้ดูด้วยนะ


ประกาศให้ทราบนะค่ะว่าปราสาทศีขรภูมิจะมีการจัดแสดงงานแสงสีแสงสืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิซึ่งจะป็นการจำลองชนเผ่าต่างๆที่อยู่ร่วมกันมีทั้งเขมร ส่วยหรือกูย และก็ลาวจะมีการจัดงานเดินขบวนกันในตอนเช้า

เราเอาภาพมาให้ชม






















นี่เป็นส่วนหนึ่งของการแสงประกอบแสงสีแสงงานสืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิซึ่งเป็นการแสดงจากคณะครูและนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ


ประชาสัมพันธ์

งานสืบสานตำนานพันปี “ปราสาทศีขรภูมิ”
21-22 พฤศจิกายน ของทุกปีค่ะ

สืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ได้จัดให้มีขึ้นในระหว่างเทศกาลงานแสดงช้างของทุกปี
เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และเป็นการสืบสานตำน่านอารยะธรรม วัฒนธรรม ท้องถิ่น
เพื่ออนุชนรุ่นหลังสืบต่อ ๆไป

และนี่คือสินค้าขึ้นชื่อของชาวศีขรภูมิค่ะจะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากกาลแม

และยังมีสินค้าอื่นๆอีกมากมายดิฉันจะยกตัวอย่างให้ดูนะค่ะ






ต่อไปนี้เราไปดูของดีบ้านดิฉันบ้างนั่นก็คือปราสาทศีขรภูมิค่ะ

นี่คือปราสาทที่สมบูรณ์และสวยงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ค่ะ


ปราสาทศีขรภูมิ

สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2(พ.ศ. 1656-1688) มีการผสมผสานศิลปะแบบบาปวนและ
แบบนครวัดต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลายได้มีการบูรณะปราสาทแห่งนี้ขึ้น ดังปรากฏจารึกภาษาไทย-บาลี
ที่ซุ้มประตูปรางค์บริวารแถวหน้าด้านทิศใต้ กล่าวถึงพระเถระผู้ใหญ่และท้าวพระยาได้ร่วมกันบูรณะปราสาทแห่งนี้
ี้และประกอบพิธีกรรมในศาสนาพุทธ

ปราสาทศีขรภูมิมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า ปราสาทบ้านระแงง ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบกลางเมืองโบราณบ้านปราสาท
ปราสาทนี้มีลักษณะพิเศษคือ ประกอบด้วยปรางค์ห้าองค์ตั้งอยู่บนฐานสูง มีภาพจำหลักนางอัปสรที่มีรูปลักษณ์คล้ายกับนางอัปสรที่ปราสาทนครวัดในเขมรนอกจากนี้ยังมีทับหลังจำหลัก
เป็นลายศิวนาฏ ราชที่งดงามประณีตมาก



จากลวดลายที่ทับหลัง
สื่อให้เห็นถึงความอุดมสมบรูณ์ในยุคนั้นนอกจากนั้นยังมีรูปพระศิวนาฏราชทรงร่ายรำอยู่ซึ่งมีผู้คนเชื่อว่าพระศิวะทรงร่ายรำเพื่อให้โลกที่วิกฤษเข้าสู่สภาวะที่ปกติหากถ้าว่าพระศิวนาฏราชทรงร่ายรำผิดจังหวะหรือลืมพระเนตรดวงที่สามขึ้นมา
โลกก็จะเกิดการวิบัติเดือดร้อนกันไปทั่วทุกแห่งหนและยังคงมีอุทกภัยที่ร้ายแรงต่างๆจึงต้องมีเทพทั้งสี่คอยให้จังหวะในการร่ายรำ

นี่เป็นส่วนหนึ่งจากการที่ดิฉันได้เคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศน์เพื่อต้อนรับกีฬานักเรียนนักศึกษาที่จังหวัดสุรินทร์เราได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซึ่งทางวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิและเทศบาลอำเภอศีขรภูมิก็มิได้นิ่งนอนใจจึงจัดอบรมโครงการนี้ขึ้นในเวลาระยะสั้นค่ะ
หากขอมูลมีการผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดดิฉันก็ขออภัยด้วยน่ะค่ะ




และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของปางทรงเครื่องหรือส่วนที่ใช้ประดับไว้บนยอดของตัวปราสาทค่ะ
หากท่านผู้ใดสนใจอยากชมปราสาทศีขรภูมิเชิญไปรับชมได้ด้วยตัวเองน่ะค่ะ

นอกจากนี้อาจารย์ยังพาพวกเราไปดูหมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองที่บ้านท่าสว่างด้วยซึ่งที่นี่เขาขึ้นชื่อเรื่องผ้าไหมระดับโลกเลยแหละ


หน้าบ้านทางเข้าค่ะขอถ่ายรูปสักนิดหนึ่งน่ะ


หมู่บ้านท่าสว่าง ต.ท่าสว่าง อ.เมือง เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าไหมที่สวยงาม และมีความละเอียดของลวดลายเรียกว่า "ผ้าไหมลายยกทอง 1,416 ตระกอ" ซึ่งเป็นลายที่มีความละเอียดสวยงามสูงสุดของงานฝีมือทอผ้าไหม เเละเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา เมื่อประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค รัฐบาลไทยได้สั่งผ้าไหมลายยกทองจากหมู่บ้านท่าสว่าง เพื่อตัดเสื้อมอบให้ผู้นำเอเปคได้สวมใส่ จนผ้าไหมบ้านท่าสว่างเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงมีการส่งเสริมให้มีการทอผ้าไหมอย่างต่อเนื่อง และมียอดสั่งจองเข้ามา ทำให้ชาวบ้านมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการรับจ้างทอผ้าไหม (จากหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ 4 ต.ค. 2548 หน้า 16)


ไหมสุรินทร์-ท่าสว่าง สุดยอดผ้าไหมโลก!


บ้านท่าสว่าง ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ได้รับการเรียกขานว่า "หมู่บ้านทอผ้าไหมเอเปกบ้านท่าสว่าง" เมื่อครั้งการประชุมผู้นำเศรษฐกิจ 21 ประเทศ ในปี 2546 ผู้นำพร้อมภริยาต่างสวมใส่ผ้าไหมยกทองของบ้านท่าสว่าง ถือเป็นผ้าไหมสินค้าโอท็อป 5 ดาว ระดับประเทศ

คำขวัญ จ.สุรินทร์ที่ว่า "สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม" เป็นคำขวัญที่สมบูรณ์แบบมาก ข้อความในแต่ละประโยค เป็นความจริงในวิถีของชาวสุรินทร์โดยแท้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช้าง ผ้าไหม เครื่องเงินหรือประคำ (ปะเกือม) แหล่งโบราณสถาน หัวไชโป๊หรือหัวผักกาดหวาน ที่ส่งออกไปขายทั่วโลก และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวสุรินทร์แต่โบราณ




แหละนี่คือเจ้าของผลงานผ้าไหมระดับโลกทั้งสินค่ะ

บ้านท่าสว่าง หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "บ้านเตรี๊ยะ" ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ท่าสว่าง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงด้านการทอผ้าไหม โดยเฉพาะการทอผ้าไหมลายยกทองโบราณ โดยอาจารย์วีระธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ ในการพัฒนาและคิดค้นวิธีการทอผ้าไหม แบบลวดลายยกทองโบราณ

โดยประยุกต์ด้านจิตรกรรมไหมไทย การใช้สีธรรมชาติ การออกแบบลวดลายบนผ้าไหมอย่างวิจิตรบรรจง และมีการรวมกลุ่มของชาวบ้านท่าสว่าง เพื่อมาทำงานทอผ้าร่วมกัน ยามว่างจากการทำไร่ทำนา

ผ้าไหมบ้านท่าสว่าง ได้รับการยอมรับและยกย่องว่า เป็นการทอผ้าไหมที่มีความละเอียดตั้งแต่หนึ่งร้อยตะกอถึงหนึ่งพันกว่าตะกอ และเคยทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ เพื่อทอเป็นผ้าไหมยกทอง ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่มีการทอแบบราชสำนักผสมผสานกับเทคนิคการทอผ้าไหมแบบพื้นบ้าน จนกลายเป็นผ้าไหมทอมือที่มีความงดงามอย่างมหัศจรรย์ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

และเมื่อวันที่ 2-6 ก.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาชุมชน จ.สุรินทร์ เลือกหมู่บ้านท่าสว่าง เป็นสถานที่ในการจัดงาน "มหกรรมไหมสุรินทร์ สุดยอดไหมโลก" และหมู่บ้านโอท็อปเพื่อการท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรม เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

แม้งานผ่านไปแต่วัฒนธรรมประเพณีและฝีมือในการทอผ้าไหมยังไม่เคยเปลี่ยน สำหรับผู้ที่ต้องการพักค้างคืนในหมู่บ้านท่าสว่าง มีบ้านพักโฮมสเตย์ไว้ต้อนรับ และจะมีมัคคุเทศก์น้อยพาเที่ยวชมการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นทุกวันในราคาเข้าพักเพียงคนละ 100 บาทต่อคืน

แล้วคุณจะประทับใจไปอีกนาน

ที่นี่ยังมีสินค้ามากมายเกี่ยวกับช้างและผลิตภัณฑ์จากฝีมือชาวบ้านมาจำหน่ายด้วย

สัมผัสวิถีชีวิต หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์

หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 58 กิโลเมตร ชาวบ้านตากลางดั้งเดิมเป็นชาวส่วย หรือ กูย มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้างและเลี้ยงช้าง




การเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลางไม่เหมือนการเลี้ยงช้างของชาวภาคเหนือที่เลี้ยงไว้ใช้งาน แต่ชาวบ้านตากลางเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกัน ความผูกพันของคนกับช้างเป็นที่สนใจของผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมากที่เดินทางเข้ามาเที่ยวชมหมู่บ้านช้าง เพื่อสัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวกูยกับช้างที่อาศัยอยู่ร่วมกัน


รวมทั้งยังได้ชมการแสดงของช้างที่จัดขึ้นให้นักท่องเที่ยวชมทุกวัน ทำให้หมู่บ้านช้างกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดหากได้มาเยือนจังหวัดสุรินทร์

โครงการนำช้างคืนถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับหลายหน่วยงาน จัดทำโครงการนำช้างคืนถิ่นเพื่อพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด โดยใช้พื้นที่ศูนย์คชศึกษา บ้านตากลาง เป็นสถานที่ดำเนินงาน เพื่อให้หมู่บ้านช้างเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ด้านวัฒนธรรม การอนุรักษ์ การขยายพันธุ์ช้างไทย โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนเลี้ยงช้าง แก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อน และส่งเสริมอาชีพคนเลี้ยงช้างให้เป็นอาชีพมั่นคง




นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก พัฒนาไปสู่ความเป็น “หมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก” ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของคนและช้างอย่างยั่งยืน

จากการดำเนินโครงการที่ศูนย์คชศึกษาตั้งแต่ปี 2549 จนถีงปัจจุบัน มีช้างเข้าร่วมโครงการจำนวน 65 เชือก โดยศูนย์คชศึกษาได้จัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ พิธีการเซ่นศาลปะกำ พิพิธภัณฑ์ช้าง การแสดงความสามารถของช้าง เช่น ช้างเตะฟุตบอล ช้างวาดภาพระบายสี ช้างนวดให้คน ช้างปาลูกดอก ฯลฯ

นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ป้อนอาหารช้าง นั่งช้างชมบริเวณศูนย์ นั่งช้างถ่ายรูป ชมช้างเล่นน้ำที่วังทะลุ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจำนวนมาก โดยในระยะเริ่มโครงการนี้ยังไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมแต่อย่างใด

เพื่อเป็นการสนับสนุนให้โครงการนำช้างคืนถิ่น สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน จึงได้กำหนดเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป ค่าเข้าชมการแสดงของช้างสำหรับผู้ใหญ่ชาวไทย คนละ 50 บาท ผู้ใหญ่ชาวต่างชาติ คนละ 100 บาท นักศีกษาและเด็กสูงกว่า 90 ซม. คนละ 20 บาท เด็กนักเรียนในเครื่องแบบ คนละ 10 บาท

สำหรับผู้ที่สนใจนั่งช้างชมบริเวณ 20 นาที มีค่าธรรมเนียมคนละ 100 บาท 40 นาที คนละ 200 บาท และ 60 นาที คนละ 300 บาท นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตคนกับช้างอย่างใกล้ชิดอีกด้วย ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์คชศึกษาบ้านตากลาง โทร. 0 4414 5050, 0 4451 1975

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ก่อนถึง อำเภอท่าตูม ที่กิโลเมตรที่ 36 เลี้ยวทางซ้ายมือ ไปอีก 22 กิโลเมตร ทางราดยางตลอดสาย มีป้ายบอกเป็นระยะตลอดทาง

เราเก็บรูปภาพวันนั้นมาฝากทุกคนด้วยน่ะค่ะ


ตื่นเต้นจังเลยค่ะใจเต้นตุ๊บๆเลย



ผู้สนับสนุนเราเองค่ะ



น่ารักมั๊ยค่ะทุกคนสนุกมาก




นี่แหละค่ะช้างสุรินทร์เราเอง
บรรยากาศบนรถค่ะ

ไปดูหมู่บ้านช้างที่สุรินทร์

มาช่วยกันอนุรักษ์ช้างไทย
ด้วยการสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยซึ่งเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ไม่ค่อยมองเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งบรรพบุรุษทำเป็นประเพณีมาแต่ดั้งเดิมการท่องเทียวครั้งนี้ได้การสนับสนุนจากอาจารย์จักรพงศ์ เจือจันทร์ในการพานักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ไปในครั้งนี้ค่ะ


ถ้าที่บ้านของคุณ
- มีงาช้างตั้งโชว์
- มีกำไลงาช้างหรือผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
- มีหางช้างหรือกระดูกช้างเพื่อบำรุงกำลัง
- มีผลิตภัณฑ์หรือสะสมผลิตภัณฑ์จากไม้เกินความจำเป็น แสดงว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนทำให้ช้างน้อยลงและกำลังจะสูญพันธุ์ในที่สุด



คุณรู้หรือไม่ว่า
* ปัจจุบันประเทศไทย มีจำนวนช้างรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 5,000 เชือก เป็นช้างป่าประมาณ 2,000 เชือก เป็นช้างเลี้ยงประมาณ 3,000 เชือก นับเป็นประเทศที่มีประชากรช้างมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลกรองจากประเทศอินเดีย อินโดนีเซียและพม่า
* ภาคเหนือของประเทศไทยมีประชากรช้างเลี้ยงมากที่สุดของประเทศ แต่กลับมีประชากรช้างป่าเหลืออยู่น้อยมาก คือประมาณ 100 เชือก
* ช้างป่าในคาบสมุทรภาคใต้จะสูญพันธุ์ในระยะเวลาไม่เกิน 10-15 ปีอย่างแน่นอน เนื่องจากป่าถูกทำลายอย่างรวดเร็ว
* ช้างใช้เวลากินอาหารประมาณ 18-20 ชั่วโมง กินอาหารวันละประมาณ 150-200 กิโลกรัม กินน้ำประมาณ 70 ลิตร

ข้อมูลนี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้รู้เมื่อไปเยือนศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง




จากข้อมูลที่มากมายเกี่ยวกับช้างที่ศึกษาที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยแห่งนี้ผ่านมาผู้เขียนได้มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องบางอย่างเกี่ยวกับช้าง เช่น
- หลงใหลชื่นชมความไร้เดียงสาของช้างน้อยที่สถานที่ท่องเที่ยวนำมาต้อนรับโดยลืมไปว่า ลูกช้างอาจจะถูกพรากมาจากแม่อย่างน่าสงสาร
- ไม่เคยสนับสนุนกิจกรรมทุกประเภททั้งของภาครัฐบาลและเอกชนใน
การรักษาช้างและป่าไม้โดยลืมคิดไปว่าปัญหานี้คือปัญหาของคนทั้งโลก


แต่ยังดีที่ผู้เขียนไม่เคยสะสมงาช้างหรือผลิตภัณฑ์จากช้าง และไม่คิดว่าจะสะสมเพราะตระหนักดีว่า การที่ได้สิ่งเหล่านี้มาหมายถึงอาจจะต้องเอาชีวิตของช้างแลกมา

ช้างกับป่าไม้เป็นของคู่กัน ช้างกับป่าไม้ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถจะสร้างขึ้นได้ เพราะช้างคือสัตว์เลี้ยงที่มนุษย์ไม่สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ให้เป็นไปตามที่ต้องการเหมือนสุนัขและแมว หากแต่มนุษย์เป็นผู้ทำลาย ทำลายทั้งป่าไม้ ทำลายทั้งช้าง เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ขอยกส่วนหนึ่งของบทความ"การค้าลูกช้างป่า:โศกนาฏกรรมของช้างไทย"ของ น.สพ.สิทธิเดช มหาสาวังกุล ผู้ดูแลโรงช้างต้นจังหวัดลำปาง ท่านได้เขียนว่า "ไม่มีแม่ผู้คอยให้การปกป้อง ให้ความรักและความอบอุ่น ไม่มีเพื่อนและญาติพี่น้องที่เคยเล่นด้วยกันในป่าใหญ่อีกต่อไป ทันทีที่แม่ช้างป่าถูกยิงล้มลงและสิ้นใจ ลูกน้อยยืนหลบอยู่ข้างร่างที่ไม่เคลื่อนไหวของแม่ สายตาของมันดูหลุกหลิกเต็มไปด้วยความหวาดกลัว มนุษย์ใจร้ายไม่รอช้ารีบเข้าไปฉุดกระชากลูกช้างออกมาอย่างไร้ความปราณี ถึงแม้ว่ามันพยายามต่อสู้ดิ้นรน แต่เพราะยังตัวเล็กและมีกำลังไม่มากนักจึงถูกฉุดออกจากร่างที่ไม่ไหวติงของแม่อย่างรวดเร็ว ลูกช้างตัวน้อยคงไม่รู้ว่าช่วงเวลาที่มีความสุขของชีวิตได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อไปนี้ชีวิตของมันจะไม่มีแม่ผู้คอยให้การปกป้องให้ความรักและความอบอุ่น ไม่มีเพื่อนและญาติพี่น้องที่เคยเล่นด้วยกันในป่าใหญ่อีกต่อไป....."


ถ้าถามว่า อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร ความสะเทือนใจ ความหดหู่ ความสงสารและอะไรอีกมากมายที่เกิดขึ้นในขณะที่อ่านพร้อมกับเกิดคำถามขึ้นในใจว่า
- ทำอย่างไรช้างจึงจะมีเพิ่มขึ้น
- ทำอย่างไรคนกับช้างจึงจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
- ทำอย่างไรช้างจึงจะกลับคืนสู่ธรรมชาติ


และอีกหลากหลายคำถามเกี่ยวกับช้างที่ต้องการคำตอบ ซึ่งคำตอบที่ต้องการนั้นไม่ใช่"คำตอบ" จากลมปากเท่านั้น แต่ต้องการคำตอบที่เป็นการปฏิบัติจริง ที่เห็นผลที่เกิดขึ้น ลำพังเพียงศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย หรือกองทุนสัตว์ป่าโลก หรือกลุ่มบุคคล องค์กรหลายกลุ่มที่กำลังร่วมมือกันในขณะนี้คงไม่เพียงพอ


" คุณพร้อมที่จะมีส่วนร่วมที่จะช่วยให้ช้างอยู่ในธรรมชาติอย่างมีความสุขแล้วหรือยัง"