วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ไปดูหมู่บ้านช้างที่สุรินทร์

มาช่วยกันอนุรักษ์ช้างไทย
ด้วยการสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยซึ่งเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ไม่ค่อยมองเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งบรรพบุรุษทำเป็นประเพณีมาแต่ดั้งเดิมการท่องเทียวครั้งนี้ได้การสนับสนุนจากอาจารย์จักรพงศ์ เจือจันทร์ในการพานักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ไปในครั้งนี้ค่ะ


ถ้าที่บ้านของคุณ
- มีงาช้างตั้งโชว์
- มีกำไลงาช้างหรือผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
- มีหางช้างหรือกระดูกช้างเพื่อบำรุงกำลัง
- มีผลิตภัณฑ์หรือสะสมผลิตภัณฑ์จากไม้เกินความจำเป็น แสดงว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนทำให้ช้างน้อยลงและกำลังจะสูญพันธุ์ในที่สุด



คุณรู้หรือไม่ว่า
* ปัจจุบันประเทศไทย มีจำนวนช้างรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 5,000 เชือก เป็นช้างป่าประมาณ 2,000 เชือก เป็นช้างเลี้ยงประมาณ 3,000 เชือก นับเป็นประเทศที่มีประชากรช้างมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลกรองจากประเทศอินเดีย อินโดนีเซียและพม่า
* ภาคเหนือของประเทศไทยมีประชากรช้างเลี้ยงมากที่สุดของประเทศ แต่กลับมีประชากรช้างป่าเหลืออยู่น้อยมาก คือประมาณ 100 เชือก
* ช้างป่าในคาบสมุทรภาคใต้จะสูญพันธุ์ในระยะเวลาไม่เกิน 10-15 ปีอย่างแน่นอน เนื่องจากป่าถูกทำลายอย่างรวดเร็ว
* ช้างใช้เวลากินอาหารประมาณ 18-20 ชั่วโมง กินอาหารวันละประมาณ 150-200 กิโลกรัม กินน้ำประมาณ 70 ลิตร

ข้อมูลนี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้รู้เมื่อไปเยือนศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง




จากข้อมูลที่มากมายเกี่ยวกับช้างที่ศึกษาที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยแห่งนี้ผ่านมาผู้เขียนได้มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องบางอย่างเกี่ยวกับช้าง เช่น
- หลงใหลชื่นชมความไร้เดียงสาของช้างน้อยที่สถานที่ท่องเที่ยวนำมาต้อนรับโดยลืมไปว่า ลูกช้างอาจจะถูกพรากมาจากแม่อย่างน่าสงสาร
- ไม่เคยสนับสนุนกิจกรรมทุกประเภททั้งของภาครัฐบาลและเอกชนใน
การรักษาช้างและป่าไม้โดยลืมคิดไปว่าปัญหานี้คือปัญหาของคนทั้งโลก


แต่ยังดีที่ผู้เขียนไม่เคยสะสมงาช้างหรือผลิตภัณฑ์จากช้าง และไม่คิดว่าจะสะสมเพราะตระหนักดีว่า การที่ได้สิ่งเหล่านี้มาหมายถึงอาจจะต้องเอาชีวิตของช้างแลกมา

ช้างกับป่าไม้เป็นของคู่กัน ช้างกับป่าไม้ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถจะสร้างขึ้นได้ เพราะช้างคือสัตว์เลี้ยงที่มนุษย์ไม่สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ให้เป็นไปตามที่ต้องการเหมือนสุนัขและแมว หากแต่มนุษย์เป็นผู้ทำลาย ทำลายทั้งป่าไม้ ทำลายทั้งช้าง เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ขอยกส่วนหนึ่งของบทความ"การค้าลูกช้างป่า:โศกนาฏกรรมของช้างไทย"ของ น.สพ.สิทธิเดช มหาสาวังกุล ผู้ดูแลโรงช้างต้นจังหวัดลำปาง ท่านได้เขียนว่า "ไม่มีแม่ผู้คอยให้การปกป้อง ให้ความรักและความอบอุ่น ไม่มีเพื่อนและญาติพี่น้องที่เคยเล่นด้วยกันในป่าใหญ่อีกต่อไป ทันทีที่แม่ช้างป่าถูกยิงล้มลงและสิ้นใจ ลูกน้อยยืนหลบอยู่ข้างร่างที่ไม่เคลื่อนไหวของแม่ สายตาของมันดูหลุกหลิกเต็มไปด้วยความหวาดกลัว มนุษย์ใจร้ายไม่รอช้ารีบเข้าไปฉุดกระชากลูกช้างออกมาอย่างไร้ความปราณี ถึงแม้ว่ามันพยายามต่อสู้ดิ้นรน แต่เพราะยังตัวเล็กและมีกำลังไม่มากนักจึงถูกฉุดออกจากร่างที่ไม่ไหวติงของแม่อย่างรวดเร็ว ลูกช้างตัวน้อยคงไม่รู้ว่าช่วงเวลาที่มีความสุขของชีวิตได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อไปนี้ชีวิตของมันจะไม่มีแม่ผู้คอยให้การปกป้องให้ความรักและความอบอุ่น ไม่มีเพื่อนและญาติพี่น้องที่เคยเล่นด้วยกันในป่าใหญ่อีกต่อไป....."


ถ้าถามว่า อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร ความสะเทือนใจ ความหดหู่ ความสงสารและอะไรอีกมากมายที่เกิดขึ้นในขณะที่อ่านพร้อมกับเกิดคำถามขึ้นในใจว่า
- ทำอย่างไรช้างจึงจะมีเพิ่มขึ้น
- ทำอย่างไรคนกับช้างจึงจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
- ทำอย่างไรช้างจึงจะกลับคืนสู่ธรรมชาติ


และอีกหลากหลายคำถามเกี่ยวกับช้างที่ต้องการคำตอบ ซึ่งคำตอบที่ต้องการนั้นไม่ใช่"คำตอบ" จากลมปากเท่านั้น แต่ต้องการคำตอบที่เป็นการปฏิบัติจริง ที่เห็นผลที่เกิดขึ้น ลำพังเพียงศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย หรือกองทุนสัตว์ป่าโลก หรือกลุ่มบุคคล องค์กรหลายกลุ่มที่กำลังร่วมมือกันในขณะนี้คงไม่เพียงพอ


" คุณพร้อมที่จะมีส่วนร่วมที่จะช่วยให้ช้างอยู่ในธรรมชาติอย่างมีความสุขแล้วหรือยัง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น